...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวินัย ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม....

ชื่อเรื่อง    :   การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย       :   สุลัดดา  สุริยะศรี
หน่วยงาน :   โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย     :  ปีการศึกษา 2564 – 2565
บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถ   ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถ  ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80      3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมารเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วม
กับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
          ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีระยะ  การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้การจัด  การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ Smart Learning ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา อำเภอเมือง   จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 5 ชนิด ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 17 แผนการจัด             การเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning  จำนวน 6 ชุด
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า E1/ E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 การทดสอบค่าที   (t - test dependent samples) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้   แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 
             1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
                 1.1 สภาพการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ของครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือก     ในการแก้ปัญหา อย่างหลากหลายมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
                 1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวม มีปัญหามาก ได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
นวัตกรรมการเรียนการสอน ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ
                 1.3 ความต้องการของครูผู้สอนในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
วิชาคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการรียนรู้ ในหัวข้อใหม่ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง
                     1.4 ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ ครูไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เข้าใจ ให้ทำแบบฝึกหัดส่งทุกครั้ง ทำให้เครียด ข้อสอบยากเกินไป ครูเข้มงวดทำให้ไม่เกิดบรรยากาศ  ในการเรียนเรียนรู้ และไม่อยากเรียน
             2. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1)  ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.91 ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
              3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
              4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Smart Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์   
 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

กลับสู่ด้านบน